ความเครียด สาเหตุ อาการ และวิธีรับมืออย่างไรให้ถูกวิธี

1914
ความเครียด

ความเครียด สาเหตุ อาการ และวิธีรับมืออย่างไรให้ถูกวิธี

ไลฟ์สไตล์ยุคใหม่เต็มไปด้วยการโต้เถียง เดดไลน์ ความผิดหวังไม่พอใจ และความต้องการของตนเอง หลายคนพบว่าความเครียดเป็นเรื่องปกติในการใช้ชีวิตประจำวัน แต่ ความเครียด ก็ไม่ใช่เรื่องเลวร้ายเสมอไป ความเครียดเพียงเล็กน้อยจะเป็นแรงขับให้คุณพยายามอย่างสุดความสามารถภายใต้สภาวะกดดันระดับหนึ่ง แต่หากคุณเผชิญเหตุการณ์หนักๆอย่างต่อเนื่อง ร่างกายคุณจะต้องแบกรับผลนั้นเป็นการตอบแทน คุณสามารถป้องกันตัวเองได้โดยการสังเกตสัญญาณและอาการของความเครียด และทำตามขั้นตอนต่างๆเพื่อลดผลกระทบที่รุนแรง วันนี้เราเลยจะพามาเจาะลึก ความเครียด คืออะไร ความเครียด สาเหตุและอาการ รวมไปถึงวิธีการรับมือ


ความเครียด คืออะไร?

ความเครียด

ความเครียด คืออะไร ความเครียดเป็นปฏิกิริยาโต้ตอบทางกายภาพที่มีต่อเหตุการณ์ที่ทำให้คุณรู้สึกกลัวหรือไม่พอใจ กล่าวคือ เหตุการณ์ที่ทำให้คุณมีอารมณ์ไม่คงที่ เมื่อคุณรู้สึกได้ถึงอันตราย แม้ว่าจะเป็นเรื่องจริงหรือจินตนาการขึ้นก็ตาม กลไกป้องกันตัวจะเริ่มทำงานอย่างรวดเร็ว และเกิดปฏิกิริยาโดยอัตโนมัติ 3 ประการคือ ต่อสู้ หลบเลี่ยง และอัมพาต เหล่านี้เรียกว่า “การตอบสนองต่อความเครียด” (stress response)

“การตอบสนองต่อความเครียด” เป็นกลไกในการป้องกันตัวของร่างกาย ในสถานการณ์ปกติกลไกนี้ช่วยให้คุณมีสมาธิ มีพลัง และเตรียมพร้อม ในสถานการณ์ฉุกเฉิน ความเครียดช่วยชีวิตคุณได้ จากการดึงพลังแฝงมาใช้ หรือแสดงออกในทางอื่นๆ เช่น การเหยียบเบรกเพื่อหลีกเลี่ยงอุบัติเหตุขณะขับรถ

“การตอบสนองต่อความเครียด” ยังช่วยให้คุณกล้าเผชิญหน้ากับความท้าทาย ความเครียดทำให้คุณควบคุมตัวเองได้ขณะพรีเซนต์งานใหญ่ ทำให้คุณมีสมาธิในการทำแต้มตัดสินแพ้ชนะในกีฬาที่คุณเล่น หรือทำให้คุณจดจ่อกับการดูหนังสือสอบแทนการนั่งๆนอนๆดูทีวี

นอกเหนือไปจากข้อดีของความเครียดแล้ว ผลเสียคือ ความเครียดทำลายสุขภาพ อารมณ์ความรู้สึก หน้าที่การงาน คุณภาพชีวิต ตลอดจนความสัมพันธ์กับบุคคลรอบข้างด้วย ความเครียด สาเหตุและอาการ


ปฏิกิริยาตอบสนองความเครียดทางร่างกาย

เมื่อคุณตกอยู่ในสภาวะกดดัน ระบบประสาทจะปล่อยฮอร์โมนเครียด อะดรีนาลิน และคอร์ติซอลไปทั่วร่างกาย ฮอร์โมนเหล่านี้กระตุ้นให้ร่างกายเข้าสู่ภาวะฉุกเฉิน

อัตราการเต้นของหัวใจถี่ขึ้น กล้ามเนื้อหดเกร็ง ความดันเลือดสูงขึ้น หายใจเร็วขึ้น และประสาทสัมผัสเฉียบคมขึ้นเป็นลำดับ การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพเหล่านี้ ทำให้คุณมีพละกำลังและตอบสนองได้รวดเร็วและมีสมาธิ เพื่อให้คุณพร้อมต่อสู้หรือวิ่งหนีจากอันตรายได้อย่างทันท่วงที


คุณตอบสนองต่อความเครียดอย่างไรบ้าง?

การรู้ตัวว่าคุณเป็นอย่างไรเมื่อเผชิญกับความเครียดที่ไม่สามารถควบคุมได้นั้น นับว่ามีความสำคัญอย่างมาก สิ่งที่อันตรายที่สุดก็คือ มันเกิดขึ้นง่ายมากโดยไม่ทันรู้ตัว เริ่มจากการรู้สึกเฉยๆ คุณจะยังไม่รู้สึกอะไรจนกว่าความเครียดนั้นสะสมในระดับที่มากพอที่จะแสดงอาการออกมา

อาการหรือสัญญาณที่บ่งบอกว่าคุณเครียดนั้นมีหลากหลาย เพราะความเครียดส่งผลต่อสภาพจิตใจ ร่างกาย และการกระทำหลายๆอย่าง ซึ่งแต่ละคนแสดงออกไม่เหมือนกัน ไม่เพียงแค่ทำให้เกิดปัญหาร้ายแรงทั้งทางร่างกายและจิตใจเท่านั้น ความเครียดยังทำลายความสัมพันธ์ของคนในครอบครัว โรงเรียน หรือที่ทำงานอีกด้วย


บางครั้งความเครียดก็ไม่ได้แสดงออกในทางที่แย่เสมอไป

นักจิตวิทยาคอนนี ลีลาส ใช้การขับรถเพื่อทดสอบปฏิกิริยาตอบสนองของคน 3 ลักษณะในสภาวะตึงเครียด พบว่า

  • เหยียบคันเร่ง แรงกระตุ้นจากความโกรธทำให้เกิด “ปฏิกิริยาต่อสู้” คุณเป็นคนใจร้อน โกรธง่าย อารมณ์รุนแรงและไม่สามารถควบคุมตัวเองให้สงบได้
  • เหยียบเบรก แรงกระตุ้นจากความรู้สึกวิตกกังวลและซึมเศร้าทำให้เกิด “ปฏิกิริยาหลบเลี่ยง” เพื่อหลีกเลี่ยงเหตุการณ์ที่รุนแรง คุณจะสงบนิ่งและมีสมาธิ และแสดงออกทางร่างกายและอามรณ์น้อยมาก
  • เหยียบทั้งคันเร่งและเบรก เกิดจาก “ปฏิกิริยาอัมพาต” ร่างกายคุณจะแข็งเหมือนหิน และขยับไม่ได้ คุณจะเป็นอัมพาตไปชั่วขณะ แต่ภายในคุณกระวนกระวายใจอย่างยิ่ง

อาการเครียดรุนแรง

ความเครียด

อาการเครียดรุนแรง ข้อความด้านล่างเหล่านี้เป็นอาการต่างๆของร่างกายที่พยายามส่งสัญญาณเตือนว่าคุณกำลังตกอยู่ในสภาวะตึงเครียด ยิ่งคุณรู้สึกว่าหลายอย่างตรงกับคุณ ยิ่งทำให้คุณเข้าใกล้ภาวะเครียดอย่างรุนแรงมากขึ้นเท่านั้น

สัญญาณเตือนภัยของความเครียด
เกี่ยวกับระบบความคิด เกี่ยวกับสภาวะทางอารมณ์
  • ปัญหาความจำ
  • ไม่มีสมาธิ
  • ตัดสินใจไม่ได้
  • คิดแต่แง่ลบ
  • กระวนกระวายและด่วนตัดสินใจ
  • กลุ้มใจอยู่ตลอดเวลา
  • อารมณ์เสีย
  • หงุดหงิดง่าย
  • อารมณ์ปั่นป่วนไม่สบายใจ
  • รู้สึกพ่ายแพ้สูญเสีย
  • รู้สึกเหงาและโดดเดี่ยว
  • ไม่มีความสุข ซึมเศร้า
อาการทางจิต อาการทางพฤติกรรม
  • ปวดศีรษะ
  • ท้องเดิน หรือ ท้องผูก
  • คลื่นไส้ วิงเวียน
  • เจ็บแน่นหน้าอก หัวใจเต้นเร็ว
  • ไม่มีอารมณ์ทางเพศ
  • เป็นหวัดบ่อย
  • กินมากขึ้นหรือน้อยลง
  • นอนมากขึ้นหรือน้อยลง
  • ปลีกตัวจากคนรอบข้าง
  • ผัดผ่อนหรือละทิ้งหน้าที่
  • ดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ กินยาเพื่อให้รู้สึกผ่อนคลาย
  • อื่นๆ เช่น กัดเล็บ หรือเดินวนไปวนมา

ระลึกไว้เสมอว่า สัญญาณแห่งความเครียดเหล่านี้อาจะเกิดจากปัญหาทางจิตใจหรือเป็นผลข้างเคียงของยาบางชนิดก็ได้ หากคุณพบสัญญาณเหล่านี้ ควรพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยอย่างละเอียด และแพทย์จะเป็นผู้ตัดสินว่าคุณเครียดจริงๆหรือมีปัญหาอย่างอื่น


แค่ไหนถึงจะเรียกว่าเครียดเกินไป?

ด้วยเหตุที่ความเครียดมีพลังทำลายในวงกว้าง คุณจึงจำเป็นต้องรู้ขีดจำกัดของตัวเอง ส่วนจะเป็น “แค่ไหน” ถึงจะเรียกว่า “มากเกินไป” นั้น เป็นเรื่องของแต่ละตัวบุคคล ทุกคนย่อมแตกต่างกัน บางคนสามารถจัดการกับปัญหาได้อย่างสบาย ขณะที่อีกหลายๆคนสติแตกกับปัญหาหรืออุปสรรคเล็กๆที่ยังมาไม่ถึง และบางคนตื่นเต้นและคิดว่าปัญหาเป็นความท้าทายอย่างหนึ่งของไลฟ์สไตล์ที่มีแต่ความเครียดเป็นทุนเดิม

ความสามารถในการรับมือกับปัญหาของคุณขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง รวมถึงความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง ภาพลักษณ์ของคุณต่อสังคมภายนอก ความฉลาดทางอารมณ์ และพันธุกรรม


สิ่งที่มีอิทธิพลต่อระดับความเครียด

  • บุคคลที่พร้อมจะส่งเสริมคุณ – หากคุณมีเพื่อนหรือสมาชิกในครอบครัวหลายคนที่พร้อมจะช่วยให้กำลังใจคุณ บุคคลเหล่านี้จะเป็นขุมพลังรักษาความเครียดอย่างได้ผล หากคุณไม่มีใครเลย คุณก็จะเผชิญหน้ากับความเครียดด้วยจิตใจที่อ่อนแอ
  • การควบคุมอารมณ์ – จะง่ายกว่า หากคุณโยนความเครียดทิ้งไว้ข้างทางได้ ด้วยความเชื่อมั่นในตนเอง และเชื่อในความสามารถในการควบคุมสถานการณ์ และมุ่งมั่นที่จะเอาชนะความท้าทายนั้น แต่ถ้าคุณรู้สึกว่าไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ทุกอย่างได้เลย คุณก็จะปล่อยให้ความเครียดอยู่เหนือคุณในที่สุด
  • ทัศนคติและการวางตัว – คนที่มองโลกในแง่ดีมักมีความต้านทานความเครียดมากกว่า เขาเหล่านั้นชื่นชอบความท้าทาย อารมณ์ดีอยู่เสมอ และยอมรับว่าความเครียดเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต
  • ความสามารถในการจัดการทางอารมณ์ – คุณจะตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของความเครียดอย่างถอนตัวไม่ขึ้น หากคุณไม่รู้จักควบคุมอารมณ์ของตัวเองให้ดีขึ้นได้ ในเวลาที่คุณเสียใจ โกรธ หรือตื่นตระหนก ความสามารถในการดึงอารมณ์กลับสู่ภาวะปกติได้จะช่วยให้คุณหลุดพ้นจากปัญหายุ่งยากต่างๆ ยิ่งไปกว่านั้น ความสามารถนี้ยังสามารถฝึกให้เกิดขึ้นได้ในคนทุกวัย
  • ความรู้เบื้องต้นและการเตรียมพร้อม – ยิ่งคุณรู้จักความเครียดในสถานการณ์ต่างๆมากเท่าไร และยิ่งรู้ว่าความเครียดนั้นจะคงอยู่นานแค่ไหน และอะไรคือความจริงที่จะเกิดขึ้นหลังจากนั้น ยิ่งทำให้จัดการกับความเครียดได้ง่ายเท่านั้น เช่น ถ้าคุณกำลังจะผ่าตัด แต่คุณรู้ว่าคุณต้องใช้เวลาพักฟื้นสักระยะ ความเจ็บปวดหลังการผ่าตัดจริงก็จะน้อยกว่าความคิดที่ว่าผ่าแล้วเดี๋ยวก็หาย

สาเหตุแห่งความเครียด

สถานการณ์และภาวะกดดัน เรียกได้ว่าเป็นสิ่งกระตุ้นความเครียด คนส่วนใหญ่คิดถึงเรื่องไม่ค่อยดีนัก เช่น ตารางงานที่แน่นเกินไป หรือความสัมพันธ์ที่แข็งกร้าว แต่จริงๆแล้ว ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นจากความต้องการของตัวคุณเอง หรือสิ่งที่บังคับให้คุณต้องเปลี่ยนแปลงตัวเองก็สร้างความเครียดได้เช่นกัน ตัวอย่างสิ่งดีๆที่ทำให้คุณเครียดก็เช่น การแต่งงาน การซื้อบ้าน การเข้ามหาวิทยาลัย หรือการได้ส่วนลดถ้าซื้อสินค้าตามโปรโมชั่น

แน่นอน ไม่ใช่ว่าความเครียดทั้งหมดจะมาจากปัจจัยภายนอกเพียงอย่างเดียว ความเครียดสามารถเกิดขึ้นได้จากตัวคุณ เช่น เมื่อคุณเกิดความวิตกกังวลอย่างมากในสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น หรือความคิดที่ไม่สมเหตุสมผล หรือมีทัศนคติต่อชีวิตในเชิงลบ เป็นต้น

สิ่งที่เป็นเหตุให้เกิดความเครียดจึงขึ้นอยู่กับแนวคิดของคุณเองด้วยส่วนหนึ่ง บางสิ่งที่คุณเครียด ไม่ได้มีผลกับคนอื่นหากเขาเจอสิ่งเดียวกันกับคุณ ในทางกลับกันเขาอาจจะพอใจด้วยซ้ำ ตัวอย่างเช่น การเดินทางไปทำงานในตอนเช้าทำให้คุณเครียดและหงุดหงิด เพราะคุณคิดว่า รถติดจะทำให้คุณไปสาย ในขณะที่คนอื่นๆมีเวลาเหลือเฟือที่จะฟังเพลงอย่างมีความสุขณะขับรถ


ปัจจัยภายนอกในการเกิดความเครียด

  • การเปลี่ยนแปลงการดำเนินชีวิต
  • ชีวิตการงานหรือการเรียน
  • ปัญหาความสัมพันธ์
  • ปัญหาการเงิน
  • ภาวะงานล้นมือ
  • ลูกและครอบครัว

ปัจจัยภายใน

  • วิตกกังวลตลอดเวลา
  • การมองโลกในแง่ร้าย
  • การพูดดูถูกตัวเอง
  • คาดหวังให้ผู้อื่นทำในสิ่งที่ตนต้องการ หรืออุดมคตินิยม
  • เข้มงวดไม่ยืดหยุ่นหรือผ่อนปรน
  • มองทุกอย่างในโลกเป็นสีขาวหรือดำ (ความคิดที่ว่าถ้าทำแล้วออกมาไม่ดีก็ไม่ต้องทำเลยดีกว่า)

ความเครียดต่างกันไปสำหรับแต่ละบุคคล

สิ่งที่ทำให้เครียดของคุณ อาจแตกต่างจากของคนอื่นๆได้ ตัวอย่างเช่น

  • คาเรน กลัวการพูดหรือการแสดงต่อหน้าคนจำนวนมาก ขณะที่เพื่อนของเธอ แคท ชอบเป็นจุดสนใจ และรู้สึกดีเมื่ออยู่ต่อหน้าคนจำนวนมาก
  • นีน่า ทำงานที่ภายใต้ความกดดันสูง ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อจวนเจียนเวลาที่กำหนด ขณะที่เพื่อนร่วมงานของเขา แมทท์ หยุดทำทุกอย่างเมื่อมีงานเพิ่มขึ้น และ จะเครียดมากเมื่อจวนเจียนเวลาที่กำหนด จนไม่สามารถทำงานได้
  • อนิต้า ชื่นชอบการดูแลผู้สูงอายุในครอบครัว ขณะที่พี่สาวของเธอ คอนสแตนซ์ ทำสิ่งเดียวกันแต่รู้สึกเครียดมาก
  • ริชาร์ดไม่ลังเลที่จะส่งผลิตภัณฑ์คืน หรือ การแจ้งบริการไม่ดีในร้านอาหาร ขณะที่ภรรยาของเขา มิรันด้า จะรู้สึกเครียดมาก หากเธอจะต้องลงมือด้วยตนเอง

ผลกระทบจากภาวะเครียดเรื้อรัง

การแสดงออกทางกายภาพไม่สามารถแยกได้ว่า อาการนั้นๆมาจากสาเหตุทางกายหรือทางจิต เมื่อคุณเครียดจากตารางเวลาที่อัดแน่น มีปากเสียงกับเพื่อน เจอปัญหารถติด หรือรับมือกับบิลเก็บเงินกองโต ร่างกายคุณจะตอบสนองอย่างรุนแรงพอๆกับสถานการณ์เสี่ยงชีวิต ถ้าคุณมีภาระที่ต้องรับผิดชอบจำนวนมากหรือมีเหตุให้กลุ้มใจบ่อยๆ โหมดฉุกเฉินก็จะทำงานตลอดเวลา ยิ่งโหมดนี้ถูกกระตุ้นมากเท่าใด ก็จะยิ่งรับมือได้ยากมากเท่านั้น

การแบกรับความเครียดเป็นระยะเวลานาน จะนำไปสู่ปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรงตามมาหลายอย่าง ความเครียดเรื้อรังจะเข้าขัดขวางการทำงานของร่างกายทุกระบบ ตั้งแต่การทำให้ความดันในเลือดสูงขึ้น ยับยั้งการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน เพิ่มความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือด ยับยั้งการเจริญเติบโตและเร่งกระบวนการเสื่อมวัย ฮอร์โมนผิดปกติส่งผลให้ปวดท้องประจำเดือน และยังมีผลต่อสมอง โดยทำให้รู้สึกท้อแท้อ่อนแอ เกิดความกังวลและซึมเศร้าในที่สุด


ปัญหาสุขภาพต่างๆเป็นเหตุให้เกิดความเครียดได้ รวมถึง…

  • อาการปวดทุกชนิด
  • โรคหัวใจ
  • ปัญหาระบบย่อยอาหาร
  • ปัญหานอนไม่หลับ
  • โรคซึมเศร้า
  • ปัญหาน้ำหนักตัว
  • โรคภูมิแพ้ตัวเอง
  • โรคผิวหนัง เช่น โรคเรื้อนกวาง

ความเครียด

วิธีลดความเครียด การผ่อนคลายความเครียด

การไม่สำรวจตนเองเป็นการเปิดโอกาสให้ความเครียดเข้าโจมตีคุณโดยง่าย ที่จริงคุณสามารถควบคุมความเครียดได้มากกว่าที่คิด แต่โชคไม่ดีที่ หลายคนแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ โดยการดื่มคลายเครียด ทานอาหารง่ายๆ ดูทีวีสบายๆ เล่นอินเทอร์เน็ต กินยา จัดปาร์ตี้เล็กๆกับเพื่อน หรือใช้ตัวช่วยอื่นๆเช่น น้ำหอมคลายเครียด แต่อย่างไรเสีย ยังมีวิธีที่ดีกับตัวคุณกว่านี้อีกมากมายที่ช่วยจัดการปัญหานี้ได้

เนื่องจากแต่ละคนมีปฏิกิริยาต่อความเครียดต่างกัน ดังนั้นจึงไม่มีวิธีไหนที่จะช่วยแก้ปัญหาได้ตรงจุดสำหรับทุกคนด้วยวิธีการเดียวกัน คุณจึงต้องทดลองใช้เทคนิคต่างกันกับสถานการณ์หลายหลากด้วยตนเอง และสังเกตให้ได้ว่าอะไรทำให้คุณรู้สึกสงบและควบคุมสถานการณ์ได้


เรียนรู้วิธีลดความเครียด

วิธีลดความเครียด คุณอาจจะคิดว่า ความเครียดเป็นสิ่งที่คุณไม่สามารถควบคุมได้ แต่จริงๆแล้วคุณทำได้และทำมาตลอด การจัดการกับความเครียด คือการควบคุมความคิด อารมณ์ ตารางเวลา สภาพแวดล้อมรอบตัว และวิธีการที่คุณเลือก การจัดการกับความเครียดสอดคล้องกับ “การพลิกแพลงสถานการณ์หากคุณอยู่เหนือความเครียด” และ “ปฏิกิริยาโต้ตอบในรูปแบบต่างๆในกรณีที่คุณตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของความเครียด” ดังนั้น ดูแลตัวเองให้ดี และหาเวลาพักผ่อนหรือกิจกรรมผ่อนคลายต่างๆทำ เช่นการดูหนัง ฟังเพลง นั่งสมาธิ หรือการตื่นเช้ามาออกกำลังกาย


จดจำ 4 คำนี้ไว้ – เลี่ยง ลุย ปรับ รับ

  • เลี่ยง – หลีกเลี่ยงความเครียดที่ไม่จำเป็น คือ ถ้าไม่จำเป็นคุณไม่ต้องไปเครียด แม้ว่าคุณจะเลี่ยงได้ไม่ทั้งหมด แต่คุณควรเรียนรู้ที่จะปฏิเสธบ้าง แยกแยะว่าอะไร “ควรทำ” หรือ “ต้องทำ” แล้วลงมือเคลียร์สถานการณ์หรือบุคคลที่เป็นตัวการซะ คุณจะกำจัดความเครียดไปได้มากเลยทีเดียว
  • ลุย – หากคุณหลีกเลี่ยงบางอย่างไม่ได้ ก็ลองลุยดูซักครั้ง หันหน้าต่อสู้กับปัญหาอย่างจริงจังและต่อเนื่อง และแทนที่จะเก็บความเครียดไว้คนเดียว เล่าให้คนใกล้ตัวคุณฟังบ้าง หรือลองเจรจาหาข้อตกลงแบบพบกันครึ่งทางกับบุคคลหลายๆฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
  • ปรับ – หากคุณไม่สามารถเปลี่ยนปัจจัยหลักของความเครียดได้จริงๆ ลองเปลี่ยนที่ตัวคุณเอง กำหนดขอบเขตของปัญหา หรือ มองเฉพาะในด้านดีในชีวิต หากเนื้องานทำให้คุณเครียด ให้มองหาข้อดีในงานที่คุณชอบ และให้มุ่งไปที่ผลลัพธ์มากกว่าอุปสรรคระหว่างทาง ลองถามตัวเองว่า ผลลัพธ์นั้นคุ้มค่าพอไหมที่จะต้องแลกมาด้วยความยากลำบากของคุณในตอนนี้?
  • รับ – ยอมรับในสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้ ในชีวิตของคุณย่อมมีปัญหาที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงอะไรได้เลย เรียนรู้ที่จะยอมรับความจริงที่เกิดขึ้น แทนการยืนสวนกระแสซึ่งยิ่งทำให้คุณเครียดหนักกว่าเดิม มองสถานการณ์ในมุมกลับ แม้กระทั่งในสถานการณ์ที่เลวร้ายที่อย่างน้อยก็ให้คุณได้เรียนรู้และเติบโตขึ้น เรียนรู้ในสิ่งที่ยากที่จะมีใครยอมรับ รวมถึงตัวคุณด้วย นั่นคือ ไม่มีใครสมบูรณ์แบบไปเสียทุกอย่าง – วิธีลดความเครียด การผ่อนคลายความเครียด

คุณสามารถจัดการกับอาการต่างๆที่เกิดจากความเครียดได้ดีกว่านี้อีก โดยการสร้างความแข็งแกร่งให้กับร่างกายของคุณ

  • จัดตารางพักผ่อนเป็นระยะ เช่น โยคะ การทำสมาธิ และการหายใจลึกๆ เพื่อให้ร่างกายได้ผ่อนคลาย การพักผ่อนอย่างเต็มที่สามารถลดความเครียดทุกชนิดได้
  • ออกกำลังกายเป็นประจำ กิจกรรมที่ทำให้ร่างกายเคลื่อนไหวครบทุกส่วนคือจุดสำคัญในการบรรเทาอาการที่เกิดจากความเครียด ไม่มีใครไม่เห็นด้วยกับคำกล่าวที่ว่า “การออกกำลังสามารถกายปลดปล่อยความเครียดได้”
  • ทานอาหารสุขภาพ ร่างกายที่ได้รับสารอาหารทางโภชนาการที่เหมาะสมจะสามารถรับมือกับความเครียดได้ดีกว่า เริ่มวันใหม่ของคุณด้วยอาหารเช้าที่มีคุณภาพ ลดคาเฟอีนและน้ำตาล รวมถึงเลิกดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่ด้วย
  • นอนให้มาก ความเหนื่อยล้าจากความตีเครียดที่สะสมมาทั้งวันเป็นเหตุให้คุณคิดฟุ้งซ่านและไม่มีเหตุผล ดังนั้น ต้องสยบด้วยการนอนให้เต็มที่

2 ขั้นตอน การผ่อนคลายความเครียด และคืนสมดุลให้ร่างกาย

ความเครียด

บางครั้งการจัดการกับความเครียดอาจไม่เพียงพอ ถ้าคุณรู้สึกว่ากำลังจมอยู่กับความเครียดและไม่สามารถจัดการด้วยวิธีที่ผ่านมาได้ คุณอาจจำเป็นต้องใช้ตัวช่วย นั่นคือ Helpguide’s free online program จะช่วยบรรเทาความเครียด และยกเครื่องระบบร่างกายใหม่ทั้งหมด ตั้งแต่วิธีคิด ความรู้สึก ตลอดจนพฤติกรรม และอื่นๆที่มีส่วนเกี่ยวข้อง

ขณะที่คุณทำความเข้าใจสาเหตุที่ความฉลาดทางอารมณ์สัมพันธ์กับสุขภาพกายและสภาวะอารมณ์ คุณควรรู้หลัก 2 อย่างที่จะช่วยลดการจมปลักอยู่กับความเครียด ซึ่งก็คือ การลดเครียดด่วน กับ การส่งต่ออารมณ์ด้วย

  • การลดเครียดด่วน หนทางที่ดีที่สุดที่จะกำจัดความเครียดทิ้งไปอย่างรวดเร็วนั้น ต้องใช้ประสาทสัมผัสทั้งหมดในตัวคุณ ไม่ว่าจะเป็นการมองเห็น ได้ยิน ได้กลิ่น สัมผัส รสชาติ หรือเคลื่อนไหวร่างกาย เช่น การชื่นชมภาพถ่ายใบโปรด ใช้น้ำหอมที่คุณชอบ ฟังเพลงเพราะๆ เคี้ยวหมากฝรั่ง กอดหรือเล่นกับสัตว์เลี้ยง เป็นต้น คุณจะหายเครียดอย่างรวดเร็ว และมีสมาธิมากขึ้น จริงอยู่ ไม่ใช่ทุกคนที่จะพอใจกับตัวอย่างกิจกรรมในแต่ละชนิดที่ยกมานี้ บางคนอาจชอบแต่สำหรับอีกคนอาจตรงข้ามกันอย่างสิ้นเชิง ประเด็นสำคัญ คือ ทำอย่างไรก็ได้ให้ทุกประสาทสัมผัสของคุณได้ทำสิ่งที่คุณพอใจก็พอ – วิธีลดความเครียด การผ่อนคลายความเครียด
  • การส่งต่ออารมณ์ ไม่มีอะไรจะทำให้เกิดความเครียดอย่างต่อเนื่องได้เท่ากับการส่งอารมณ์จากภายในตัวคุณและจากคนรอบข้างคุณ ความเข้าใจอิทธิพลของอารมณ์ที่มีต่อความคิดและการกระทำสำคัญอย่างมากในการต่อกรกับความเครียด ชีวิตไม่จำเป็นต้องมีรสชาติอย่างรถไฟเหาะที่โลดโผนอยู่ตลอดเวลา คุณต้องมีสติคอยระวังอารมณ์ของคุณเสมอ ถึงแม้ว่าตอนนั้นคุณกำลังเจ็บปวดและคิดจะดื่มหรือไม่ก็หนีเหมือนที่คนอื่นทำ แต่หากคุณพิจารณาอย่างถ่องแท้ คุณจะไม่ทำในสิ่งที่ไม่ก่อให้เกิดผลดีเหล่านั้น แล้วหันมาเติมพลังด้วยวิธีอื่นที่ดีกว่า และคุณก็จะได้ชีวิตที่มีความสุขกลับคืนมา

เมื่อคุณฝึก 2 หลักการนี้จนเชี่ยวชาญแล้ว คุณจะมีความมั่นใจในการเผชิญหน้ากับสถานการณ์เฉพาะหน้ามากขึ้น และสามารถดึงตัวเองให้กลับมาเป็นปกติได้อย่างรวดเร็ว


การผ่อนคลายความเครียด

การผ่อนคลายความเครียด นอกจากนั้น ยังมีตัวช่วยอื่นๆที่ได้ผลจริงในการลดความเครียด เช่น การใช้กลิ่นในการดับความเครียด ซึ่งในปัจจุบันมีน้ำหอมจำพวกที่ใช้ตั้งโต๊ะ หรือที่เรียกว่า Reed Diffusion, Fragrance Diffusion หรือภาษาไทยเรียกกันว่า น้ำมันหอมระเหย มีขายกันตามท้องตลาดทั่วไป อันนี้ส่วนตัวใช้วิธีนี้ บวกกับการหายใจ เข้าออกลึกๆ ช่วยลดความเครียด ความฟุ่งซ่าน วิตกกังวลลงได้เยอะเลยครับ ไม่เชื่อลองไปซื้อไปทำดู


เมื่อเรารู้จักความเครียดและวิธีรับมือกันไปแล้วสิ่งสำคัญต่อมาก็คือการนำวิธีเหล่านี้ที่เราได้แนะนำกันไปลองปรับใช้ดู อย่างไรก็ตามหากอาการเครียดของเพื่อน ๆ เรื้อรังเกินกว่าจะรับไหวและส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ในจุดนี้เราขอแนะนำให้พอจิตแพทย์หรือนักจิตบำบัดเพื่อนที่จะได้รับการช่วยเหลืออย่างถูกต้องและทันท่วงทีค่ะ


อ้างอิงจาก

What Is Stress? Symptoms, Causes, Treatment, Coping: https://www.verywellmind.com/stress-and-health-3145086

Stress: Signs, Symptoms, Management & Prevention: https://my.clevelandclinic.org/health/articles/11874-stress

Ways to Manage Stress: https://www.webmd.com/balance/stress-management/stress-management

10 Techniques to Manage Stress & 13 Quick Tips: https://positivepsychology.com/stress-management-techniques-tips-burn-out/

โปรดรอสักครู่ กำลังโหลดความคิดเห็นของเพื่อน ๆ และเพื่อเขียนความคิดเห็นของคุณ