ทำไมต้องมีประจำเดือน
ทำไมต้องมีประจำเดือน บทความนี้แสดงถึงวงจรการมีประจำเดือน ซึ่งบางปัญหาได้อธิบายอย่างคร่าวๆ เช่น มีประจำเดือนมาก การปวดประจำเดือน ประจำเดือนมาไม่ปกติ หรือวัยหมดประจำเดือน
ทำไมต้องมีประจำเดือน
ผู้หญิงเรานั้นมีอวัยวะเล็กๆ เรียกว่า รังไข่ ซึ่งอยู่ช่วงล่างของท้อง และอยู่ 2 ข้างของมดลูก เมื่อในวัยเริ่มเจริญพันธุ์ รังไข่จะเริ่มผลิตฮอร์โมนเพศหญิง และทุกเดือนจะมีการขับเลือดประจำเดือนออกมา
ช่วงเวลาการมีรอบประจำเดือน โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 28 วัน หรือโดยปกติอยู่ระหว่าง 24-35 วัน การมีประจำเดือนนั้นร่างกายของเราจะมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเพศหญิง ซึ่งรอบการมีประจำเดือนสามารถแบ่งได้เป็น 2 ส่วน คือ
ช่วงแรกเรียกว่า ระยะก่อนตกไข่ ช่วงที่ฮอร์โมนเพศหญิง เอสโตรเจน และโปรเจสเตอโรน ค่อยๆ ลดลง และเยื่อบุด้านในมดลูกค่อยๆ หลุดออก ทำให้ประจำเดือนออกมา
ระยะนี้ รังไข่ถูกกระตุ้นด้วยฮอร์โมน ซึ่งผ่านไปยังกระแสเลือดจากต่อมที่อยู่ใกล้สมอง เรียกว่า ต่อมพิทูอิทารี ทำให้ไข่ในรังไข่เจริญเติบโตขึ้น เรียกว่า ระยะก่อนตกไข่ ซึ่งระยะนี้จะผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนออกมา ในระยะครึ่งแรกนี้ ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนในเลือดจะสูง และหน้าที่หลักของเอสโตรเจน คือทำให้ผนังมดลูกหนาขึ้น
การตกไข่ เกิดขึ้นช่วงกลางของระยะการมีประจำเดือน (ประมาณ 14 วันหลังจากเริ่มวงจรการมีประจำเดือน) เมื่อรังไข่ผลิตไข่ออกมาส่งผ่านไปยังท่อนำไข่ และไข่ใบนี้สามารถผสมพันธุ์ได้ ถ้าคุณมีเพศสัมพันธ์และตัวสเปิร์มยังอยู่ในมดลูก
ช่วงหลังของวงจรการมีประจำเดือน เรียกว่า ระยะหลังไข่ตก ในระยะก่อนไข่ตกนั้น จะมีการผลิตฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน และเอสโตรเจน โปรเจสเตอโรน ทำให้มดลูกใหญ่ขึ้น และพร้อมสำหรับรองรับไข่ที่ผสมพันธ์แล้ว แต่ถ้าไข่ไม่ได้รับการผสมพันธ์ ระดับโปรเจสเตอโรนและเอสโตรเจนจะค่อยๆลดลง แล้วผนังที่บุในมดลูกจะหลุดออก เป็นประจำเดือน และเริ่มวงจรรอบใหม่
ประจำเดือน
เมื่อเริ่มเข้าสู่วัยสาว ผู้หญิงจะมีประจำเดือน และมีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายอย่างอื่นอีก เช่น มีหน้าอก มีขนขึ้นในที่ลับ เป็นต้น ช่วงวัยที่เริ่มมีประจำเดือนคือ อายุ 13 ปี แต่โดยปกติสามารถเริ่มมีประจำเดือนได้ตั้งแต่ 11-15 ปี มีจำนวนไม่มากที่อาจมีประจำเดือนก่อนหรือหลังช่วงอายุนี้ ประจำเดือนจะมาอย่างต่อเนื่อง และจะหยุดเมื่อเข้าสู่วัยทอง อายุประมาณ 50 ปี
เกิดอะไรขึ้นในช่วงมีประจำเดือน
ในแต่ละเดือนจะมีเลือดออกทางช่องคลอด ปริมาณเลือดที่ออกมานั้น ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล บางคนน้อย บางคนมาก บางคนมีลิ่มเลือด โดยเฉพาะคนที่มีเลือดออกมาก และปริมาณเลือดที่เสียในช่วงมีประจำเดือน อยู่ระหว่าง 20-60 มิลลิลิตร (4-12 ช้อนชา) ปริมาณเลือดที่เสียไปนั้นอาจถึง 8 วัน แต่โดยเฉลี่ยจะอยู่ที่ 5 วัน และจะเสียเลือดมากในสองวันแรก บางคนอาจปวดท้องช่วงล่างมาก ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติ
อะไรที่เราควรหลีกเลี่ยงในช่วงที่มีประจำเดือน
ไม่มี มันเป็นเรื่องปกติ ถ้าคุณรู้สึกปวดประจำ พยายามหาสิ่งอื่นทำ เช่น ลดอาการขาดน้ำด้วการดื่มน้ำมาก ๆ ว่ายน้ำ อาบน้ำ เป็นต้น ประจำเดือนไม่ใช่สิ่งสกปรก เป็นเรื่องปกติสำหรับผู้หญิง
ผ้าอนามัย
เป็นเรื่องปกติสำหรับผู้หญิงในการใช้ผ้าอนามัย โดยวางผ้าอนามัยลงบนกางเกงชั้นในเพื่อซับเลือด การใช้งานสะดวกมาก และควรเปลี่ยนผ้าอนามัยเป็นประจำ
ปัญหาอื่นๆ เกี่ยวกับฮอร์โมนเพศหญิง
ฮอร์โมนเพศหญิง (เอสโตรเจน และโปรเจสเตอโรน) มีผลมากกว่าแค่เป็นสาเหตุในการมีประจำเดือน เช่น ลักษณะของเมือกในช่องคลอดอาจเปลี่ยนแปลงได้ในเวลาต่างกันของวงจร ช่องคลอดอาจแห้ง และเมือกอาจเข้มข้นขึ้นในช่วงระยะแรกของวงจรการมีประจำเดือน เป็นต้น หลังจากไข่ตกไม่นาน ระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนจะสูงขึ้น และเมือกจะลดความเข้มข้นลง เหลวขึ้น ไหลลื่นได้สะดวกขึ้น และจะเข้มข้นอีกเมื่อรอบประจำเดือนหน้า ขณะที่ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนลดลง
โปรเจสเตอโรน อาจช่วยเก็บน้ำในส่วนต่างๆ ของร่างกาย หน้าอกอาจใหญ่ขึ้นเล็กน้อย ท้องอาจบวมขึ้นเล็กน้อยในช่วงก่อนมีประจำเดือน คุณอาจรู้สึกหงุดหงิด ซึ่งเป็นผลมาจากระดับฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลง อาการเหล่านี้ถือว่าปกติ บางทีอาการก่อนมีประจำเดือนอาจรุนแรง หรือเรียกว่า อาการก่อนมีประจำเดือน หรือความเครียดก่อนการมีประจำเดือน
อาการที่เกิดขึ้นในช่วงมีประจำเดือน
โดยปกติ ถ้าคุณมีอาการประจำเดือนไม่ปกติเป็นระยะเวลานาน ควรไปปรึกษาแพทย์
ประจำเดือนมามากผิดปกติ
ประจำเดือนมามากนั้น ถือเป็นเรื่องธรรมดา และเป็นการยากที่จะวัดระดับการสูญเสียเลือดในแต่ละครั้งอย่างแม่นยำ การที่ประจำเดือนมามาก เปรียบเช่นน้ำท่วม เราควรใช้ผ้าอนามัย 2 เท่าเพื่อดูดซับเลือด แต่ถ้าประจำเดือนมามากนั้นมากกว่าครั้งก่อน ควรรีบปรึกษาแพทย์ เพราะอาจมีสาเหตุมาจากความผิดปกติของมดลูก หรือฮอร์โมน และการรักษาจะช่วยลดความผิดปกติของประจำเดือนมามากได้
อาการปวดประจำเดือน
อาการปวดประจำเดือน อาจปวดช่วงท้องด้านล่าง หลัง และขาช่วงบน ถือว่าปกติ โดยเฉพาะในช่วง 2-3 วันแรก ในช่วง 2 วันแรกเป็นช่วงที่ทรมานที่สุด ผู้หญิงบางคนปวดมากกว่าคนอื่น ยาแก้ปวด เช่น อิบูโปรเฟน ช่วยบรรเทาได้
สาเหตุการปวดไม่มีสาเหตุแน่ชัด แต่อาจมาจากเยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่อาจทำให้มีอาการปวดมาก คุณควรรีบปรึกษาแพทย์ ถ้า
- การปวดประจำเดือนในแต่ละครั้งรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ
- การปวดเริ่มจากหนึ่งวัน และทวีจำนวนวันมากขึ้นเรื่อยๆ
- การปวดรุนแรงตลอดเวลาของการมีประจำเดือน
การมีเลือดออกผิดปกติ
ถ้าคุณมีเลือดออกทางช่องคลอดในช่วงเวลาที่ไม่คาดคิด คุณควรรีบปรึกษาแพทย์ รวมถึงการมีเลือดออกหลังจากมีเพศสัมพันธ์ หรือเลือดออกหลังจากวัยหมดประจำเดือน มีสาเหตุมากมายของการมีเลือดออก สาเหตุหลัก อาจมาจากการกินยาคุมในช่วง 2-3 เดือนแรก
ช่วงไม่มีประจำเดือน
การตั้งครรภ์เป็นเหตุผลพื้นฐานที่สุดในการไม่มีประจำเดือน แต่อาจมีบางทีที่คุณไม่ได้ตั้งครรภ์ แต่ประจำเดือนไม่มาในเดือนนั้นๆ สาเหตุอาจมาจาก ความเครียด การลดน้ำหนัก ออกกำลังกายมากเกินไป และมีปัญหาด้านฮอร์โมน ถ้าประจำเดือนหยุดนานกว่า 6 เดือนควรรีบปรึกษาแพทย์
และถ้าอายุ 16 ปีแล้วยังไม่มีประจำเดือน ควรพบแพทย์
การมาของประจำเดือนไม่ปกติ
ช่วงระยะการมีประจำเดือนอาจแตกต่างกันในแต่ละบุคคล การที่ประจำเดือนมาไม่ปกติ อาจบอกได้ว่า ไม่มีการตกไข่ทุกเดือน และความสมดุลของฮอร์โมนอาจไม่ดี ถ้าคุณอายุยังน้อย ควรรีบปรึกษาแพทย์ และอาการแบบนี้ถือว่าปกติสำหรับผู้สูงอายุ ในวัยก่อนหมดประจำเดือน